วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

บริษัท เกียรติสุรนนท์อุบลราชธานี จำกัด


                บริษัท เกียรติสุรนนท์อุบลราชธานี จำกัด เดิมชื่อ บริษัท ศรีสะเกษกิจเจริญไทย จำกัดสาขาอุบล 2 ซึ่งเปิดทำการค้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 จนกระทั่งปี พ.ศ.2540 จึงได้แยกบริษัทออกมาเป็นบริษัท เกียรติสุนนท์อุบลราชธานี จำกัด และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เกียรติสุรนนท์อำนาจเจริญ ซึ่งทั้งสองกิจการถือเป็นบริษัทในเครือเกียรติสุรนนท์ กรุ๊ป ภายใต้การบริหารงานของคุณศรีพล-คุณนิรมล เกียรติสุรนนท์                เกียรติสุรนนท์ กรุ๊ป กิจการเจริญเติบโตขึ้นอย่างมั่นคงตามลำดับ ด้วยสโลแกนที่ตอกย้ำความมั่นใจให้กับลูกค้าที่ว่า เกียรติสุรนนท์ กรุ๊ป ภูมิใจให้บริการ ด้วยมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา                เกียรติสุรนนท์ กรุ๊ป ได้รับความไว้วางใจจากบริษัท เอ.พี. ฮอนด้า จำกัด ให้เป็นตัวแทนจำหน่ายรถจักรยานยนต์ฮอนด้าแต่เพียงผู้เดียวในเขตจังหวัดอุบลราชธานีและเขตจังหวัดอำนาจเจริญ ปัจจุบันมีสาขารวมทั้งหมด 27 สาขา และมีแผนขยายให้ครอบคลุมทุกอำเภอในเขตจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อรองรับความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคตและให้การบริการแก่ลูกค้าได้อย่างทั่วถึง สะดวก สบาย รวดเร็วขึ้น                ด้านบุคลากร ปัจจุบันมีบุคลากร จำนวนรวม 320 คน ระดับผู้บริหาร 30 คน ระดับหัวหน้า 35 คน ระดับพนักงาน 285 คน                 เกียรติสุรนนท์ กรุ๊ป เน้นเรื่องการบริการที่สร้างความประทับใจให้ลูกค้าในทุกๆด้าน มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วยทุกแผนก เพื่อความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และข้อมูลในการวางแผนการตลาดที่เป็นปัจจุบันตลอดเวลา ไม่ว่าลูกค้าจะเข้ารับบริการที่สาขาใดก็ตาม จะได้รับการบริการด้วยมาตรฐานเดียวกัน          
             กลยุทธ์ที่บริษัท เกียรติสุรนนท์ นำมาใช้ภายใต้นโยบายของบริษัท เอ. พี. ฮอนด้า จำกัด คือ 5s 
1. Sale คือ แผนกขาย ปัจจุบันยอดขายรวมมากกว่า 25,000 คันต่อปี ได้รับรางวัลผู้จำหน่ายยอดเยี่ยมระดับประเทศทุกปี
2. Service คือ แผนกบริการ เป็นศูนย์บริการที่ทันสมัย ช่างบริการทุกคนผ่านการอบรม มีความรู้ความสามารถ ความชำนาญ ไว้คอยให้บริการลูกค้าอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมียอดรถเข้ารับบริการมากกว่า 120,000 คันต่อปี ได้รับรางวัลศูนย์บริการยอดเยี่ยมทุกปี จุดเด่นที่ทำให้ลูกค้าประทับใจ คือ การบริการตรวจเช็คสภาพรถ ฟรี ตลอดอายุการใช้งาน
3. Spare Part คือ แผนกอะไหล่ เป็นศูนย์ขายส่งอะไหล่ฮอนด้า แห่งแรกที่ทันสมัย ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานทั้งระบบ ติดอันดับ Top Ten ยอดจำหน่ายอะไหล่สูงสุดทุกปี
4. Safety คือ แผนกขับขี่ปลอดภัย ปัจจุบัน เกียรติสุรนนท์ กรุ๊ป ได้เปิดศูนย์ฝึกขับขี่ปลอดภัยฮอนด้าที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน และเป็นโรงเรียนสอนขับรถเอกชนแห่งแรกในภาคอีสาน โดยจัดโครงการอบรมให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติแก่สถานศึกษา หน่วยราชการ ประชาชนทั่วไป ผู้ที่ผ่านการอบรมสามารถนำใบรับองการอบรมไปขอออกใบขับขี่กับขนส่งจังหวัดได้
5. Second Hand คือ แผนกรถมือสอง เกียรติสุรนนท์ กรุ๊ป ได้เปิดศูนย์ปรับแต่งสภาพรถมือสองที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน มีเครื่องมืออันทันสมัยในการปรับแต่งสภาพรถมือสองให้มีสภาพเหมือนรถใหม่ไว้บริการลูกค้าที่ต้องการรถเกรด 1 สภาพดีไว้ใช้งานมุมมองของผู้บริหารต่อการนระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กร 
                 มุมมองของผู้บริหารต่อการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กร
 บริษัท เกียรติสุรนนท์ จำกัด  มีการพัฒนาระบบตามความต้องการของพนักงานในการทำงานของแผนกต่างๆ ภายในองค์กร  เพื่อให้การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทำให้ระบบการจัดการในองค์กรเกิดความคล่องตัวและรวดเร็ว                 ในการบริหารงานของบริษัท เกียรติสุรนนท์ จำกัด จะมีผู้จดการและหัวหน้าแผนกต่างๆ ดังต่อไปนี้  
1.       ผู้จัดการแผนกคอมพิวเตอร์  มีหน้าที่ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ คอยแก้ไขปัญหาให้สาขาเมื่อคอมพิวเตอร์ขัดข้อง  ในกรณีของบริษัท เกียรติสุรนนท์ จำกัด จะมีการควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่าเครื่องแม่คอยควบคุมการทำงานทั้งหมดในบริษัท
2.       ผู้จัดการแผนกบัญชี   มีหน้าที่ดูแลควบคุมระบบบัญชีและตรวจสอบการทำงานของสาขา  บริษัท เกียรติสุรนนท์ จำกัด  ได้มีการเชื่อมโยงเครือข่าย Intranet กับทุกสาขาเพื่อตรวจสอบบัญชี
3.       ผู้จัดการแผนกเร่งรัดหนี้สิน  มีหน้าที่ดูแลควบคุมลูกหนี้ที่ค้างชำระ  โดยลูกหนี้ทั้งหมดจะถูกเก็บข้อมูลไว้อย่างละเอียด
4.       หัวหน้าแผนกขาย  มีหน้าที่ต้องทำยอดขายให้เป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้
5.       หัวหน้าแผนกทะเบียน  มีหน้าที่จดทะเบียนรถใหม่ ต่อทะเบียนรถ โอนรถ
6.       หัวหน้าแผนกจัดซื้อ   มีหน้าที่จัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้อุปกรณ์สำนักงาน
7.       หัวหน้าแผนกบัญชีสาขา  มีหน้าที่ประสานงานกับสาขา  จัดส่งรถจักรยานยนต์ไปให้สาขา   
8.       หัวหน้าแผนกอะไหล่  มีหน้าที่สั่งซื้ออะไหล่และจัดส่งอะไหล่ไปให้สาขา ตลอดถึงการขายส่งอะไหล่และหาร้านค้ารายใหม่
9.       หัวหน้าแผนกบริการ  มีหน้าที่ดูแลช่างบริการให้ทำงานอย่างรวดเร็วถูกต้องและให้คำปรึกษากับสาขาที่มีปัญหาในการซ่อมรถจักรยานยนต์
10.   หัวหน้าแผนกเร่งรัดหนี้สิน  มีหน้าที่ดูแลเร่งรัดหนี้สินและเตรียมเอกสารให้ทนายความ
                ระบบสารสนเทศที่บริษัท เกียรติสุรนนท์  จำกัด นำมาใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ ภายในบริษัท มีดังนี้ 
1. สารสนเทศทางการผลิต MIS   บริษัทนำสารสนเทศทางการผลิตมาใช้ในด้านการดำเนินงาน   การควบคุม เช่น 
1.1 การควบคุมสินค้าคงคลังในแผนกอะไหล่  คือ  เมื่ออะไหล่ชนิดใดใกล้จะหมดก็จะมีการเตือนทันที  หรือถ้าสาขาใดอะไหล่ใกล้จะหมดระบบก็จะทำการส่งข้อมูลมาที่สำนักงานใหญ่ทันที  ซึ่งทำให้อะไหล่ไม่ขาดและพร้อมที่จะให้บริการเสมอ
1.2 แผนกขาย      มีหน้าที่ต้องทำยอดขายให้เป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้  และถ้าสาขาใดไม่สามารถทำตามเป้าได้ระบบก็จะแจ้งข้อมูลให้สาขานั้นและสำนักงานใหญ่ทราบ  และระบบก็จะมีข้อมูลบอกว่ายอดขายส่วนใดที่ลดลงจากยอดเดิมที่ทำไว้ ทำให้พนักงานสามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายยิ่งขึ้น               
1.3 แผนกทะเบียน     มีหน้าที่จดทะเบียนรถใหม่  ต่อทะเบียนรถ  โอนรถ  มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้  เช่น   เมื่อมีการจดทะเบียนรถ  แล้วรถคันใดที่ได้รับทะเบียนทางบริษัทก็จะคีย์ข้อมูลเข้าไป  แล้วข้อมูลเหล่านี้ก็จะไปปรากฏในใบเสร็จเมื่อลูกค้ามาชำระเงินค่างวดรถก็จะทราบได้ทันที่ว่าได้รับป้ายทะเบียนแล้ว
2. สารสนเทศทางการตลาด  MKIS  บริษัทนำสารสนเทศทางการตลาดมาใช้ ในการส่งเสริมการขายของแผนกขาย  เช่น มีการอัฟเดทข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าตัวใหม่อยู่ตลอดเวลา  มีการแจ้งข้อมูลข่าวสารการจัดกิจกรรมต่างๆ               
 3. สารสนเทศทางด้านการบัญชี AIS บริษัทนำสารสนเทศทางด้านการบัญชีมาใช้ โดยใช้ระบบ Express ซึ่งระบบนี้จะช่วยบันทึกรายงานทางบัญชี   ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้  ลูกหนี้  การรับเงิน  การจ่ายเงิน   การไหลเวียนของเงินทุนภายในบริษัท และแต่ละสาขาของบริษัท  เช่น3.1 ใช้ในแผนกเร่งรัดหนี้สิน  โดยที่ระบบจะมีการเตือนให้เราทราบทันทีเมื่อมีลูกค้ารายใดที่ไม่ชำระค่างวดรถเกิน 5 งวดขึ้นไป
4. สารสนเทศทางด้านการเงิน FIS บริษัทนำมาใช้ในการจัดสรรเงินทุนเพื่อที่จะไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของแต่ละสาขา  หรือจัดเป็นกองทุนเพื่อทำประโยชน์ให้แก่สังคม เช่น การสร้างอาคารเรียนให้แก่โรงเรียนยากจนในชนบทต่างๆ และนำมาใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของการเบิกจ่ายเงินของแต่ละแผนกในทุกสาขาของบริษัท 
5. สารสนเทศทางด้านทรัพยากรมนุษย์ HRIS บริษัทนำระบบนี้มาใช้เพื่อพัฒนาพนักงานให้เกิดศักยภาพสูงสุด   ควบคุมนโยบายและโปรแกรมด้านบุคคล   โดยบริษัทจะมีการเช็คเวลาเข้าออกของพนักงานวันละ 4  ครั้งคือ  ตอนเช้า    พักกลางวัน  (ให้เวลาพัก 1 ชั่วโมง)   กลับจากพักกลางวัน   และตอนเลิกงาน  ซึ่งจะมีการเช็คโดยระบบสแกนนิ้วมือ  ซึ่งระบบนี้จะไปเกี่ยวเนื่องกับระบบ Payroll ก็คือเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือนและการวางแผนการจ่ายโบนัสแก่พนักงาน   ประวัติ  และก็การวางแผนการฝึกอบรมให้แก่พนักงานด้วย 
                  วิธีการได้มาของระบบสารสนเทศ (MIS)       
 เดิมบริษัทเกียรติสุรนนท์ ได้ซื้อระบบจาก บริษัทซีเนียร์คอม มาใช้ในงานทุกแผนกและทุกสาขาของบริษัท  แต่บริษัทซีเนียร์คอมไม่ค่อยมีการพัฒนาระบบเท่าที่ควรและที่สำคัญ คือ ไม่ได้มีการออกแบบระบบตามความต้องการของบริษัท ทางบริษัทจึงเลิกใช้แบบซีเนียร์คอม และได้มาซื้อระบบของบริษัทซิฟซอร์ฟ ซึ่งบริษัทซิฟซอร์ฟได้มีการพัฒนาระบบตามความต้องการของผู้ใช้และการดูแลระบบเป็นอย่างดี และปัจจุบันทางบริษัทได้ใช้ระบบสารสนเทศของบริษัทซิฟซอร์ฟอยู่                                  
                 โปรแกรมจัดจำหน่ายธุรกิจรถจักรยานยนต์ของบริษัทซิฟซอร์ฟ 
Hi-Easy เป็นโปรแกรมประยุกต์ภาษาไทย (Application Software) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อจำหน่ายธุรกิจรถจักรยานยนต์โดยเฉพาะ ซึ่งบริษัทได้เลือกใช้เทคโนโลยีในการพัฒนา (Development Tools)ที่มีประสิทธิภาพทั้งในด้านโปรแกรมมิ่ง(Microsoft Visual Basic 6) การจัดการฐานข้อมูล (SQL Server 2000) การจัดทำรายงาน (Crstal Report 8.5) สามารถแก้ไขรายงาน เอกสารสำนักงาน ให้รองรับ กระบวนการทางธุรกิจได้ง่าย Hi-Easy ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานในธุรกิจของท่าน ด้านการควบคุม และการวิเคราะห์การสั่งซื้อ ระบบงานสินค้าคงคลัง ระบบควบคุมงานขาย การอนุมัติการขาย ไม่ว่าจะเป็น ขายสด ขายส่ง และขายเข้าไฟแนนซ์ ระบบการเงิน ระบบลูกหนี้เช่าซื้อ ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และงานทะเบียน พรบ. ซึ่งระบบจะช่วยประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล ลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บเอกสาร และสามารถออกเอกสารต่างๆ จากระบบได้ทันที เช่น เอกสารรับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งสินค้า เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถออกรายงาน วิเคราะห์การทำงานในส่วนต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
บริษัท  Oishi Small  จำกัด


ความเป็นมา 
เมื่อวันที่ กันยายน 2542 คุณตัน ภาสกรนที ได้เริ่มเปิดให้บริการร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่นตลอดทั้งวันแห่งแรกในประเทศไทย ที่สุขุมวิท55 ภายใต้ชื่อ โออิชิ” ต่อมาในปี 2543 จึงได้จัดตั้ง บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ( บริษัทฯ” ) เดิมชื่อ บริษัท โออิชิ เรสเตอร์รอง จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 10 ล้านบาท เพื่อประกอบธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น และในปี 2545 บริษัทฯ มีการปรับโครงสร้างการดำเนินงานพื่อดำเนินธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นหลายรูปแบบ รวมทั้งร้านเบเกอรี่เพื่อสุขภาพ ส่งผลให้บริษัทฯ มีทุนจุดทะเบียนและขำระแล้วเป็น 300 ล้านบาท และมีบริษัทย่อยจำนวน บริษัท คือ บริษัท โออิชิ ราเมน จำกัด ประกอบธุรกิจร้าอาหารประเภทบะหมี่ญี่ปุ่น และ บริษัท โออิชิ เทรดดิ้ง จำกัดประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายชาเขียว ภายใต้ชื่อ โออิชิ กรีนที” และทำหน้าที่เป็นครัวกลางให้กับร้านอาหารของกลุ่มบริษัทฯในปัจจุบันกลุ่มบริษัทฯ มีการประกอบธุรกิจหลัก ประเภท ได้แก่ ร้านอาหารญี่ปุ่นและร้านเบเกอรี่ แบ่งออกเป็น
1. ร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทบุฟเฟ่ต์ ภายใต้ชื่อ โออิชิ บุฟเฟ่ต์” “โออิชิ เอ็กซ์เพรส” “ชาบูชิ” และ โออิชิ แกรนด์” 
2. ร้านอาหารประเภทตามสั่ง ภายใต้ชื่อ โออิชิ ราเมน” “โออิชิ ซูชิบาร์” “ล็อก โฮม” “โอเค สุกี้” 
3. ร้านเบเกอรี่เพื่อสุขภาพ ภายใต้ชื่อ “IN&OUT the Bakery Cafe” และ “Cha for Tea” รวมถึง บริการจัดเลี้ยงนอกสถานที่และจัดส่งถึงบ้าน และธุรกิจแฟรนไชส์ร้านอาหารญี่ปุ่น ธุรกิจเครื่องดื่มประเภทชาเขียว ภายใต้ชื่อ โออิชิ กรีนที” ซึ่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547บริษัทฯ มีสาขาของร้านอาหารรวมทั้งสิ้น 87 สาขา ทั่วกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่พัทยา และชลบุรี จำนวนรวม 83 สาขา และอีก สาขาในจังหวัดภูเก็ต เปิดเป็นธุรกิจในระบบแฟรนไชส์
บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินธุรกิจเป็นผู้จำหน่ายเครื่องดื่มชาเขียวพร้อมดื่ม ตั้งแต่ปี 2545 โดยว่าจ้างผู้ผลิตภายนอกผลิตเครื่องดื่มดังกล่าวขนาด350 มิลลิลิตร ต่อมาในไตรมาสสุดท้ายของปี 2546 ทางบริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพในการเติบโตของตลาดเครื่องดื่มชาเชียวพร้อมดื่ม จึงได้เริ่มดำเนินการเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มชาเชียว ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนในโครงการนี้ทั้งสิ้นจำนวน 901 ล้านบาท และได้ลงทุนไปแล้วจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2547 จำนวน 801 ล้านบาท  
ปี 2547 แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยจะไม่เติบโตตามเป้าหมายตามที่รัฐบาลวางไว้ อันเป็นผลกระทบจากสภาวะความผันผวนของราคาน้ำมัน การระบาดของโรคไข้หวัดนก สถานการณ์วิกฤตภาคใต้ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้มีการติดตามสถานการณ์ดังกล่าว และปรับตัวอยู่เสมอเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่บริษัทฯ ได้วางไว้ อันส่งผลให้ปี 2547 เป็นอีกปีหนึ่งที่บริษัทฯ ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการสร้างการเติบโตทั้งรายได้และกำไร และคงความเป็นผู้นำในธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ผลประกอบการของบริษัทและบริษัทย่อยในปี 2547 (รอบระยะเวลาบัญชีของบริษัท มกราคม ถึง 31 ธันวาคม) มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะจากธุรกิจชาเขียวที่มีอัตรากำลังการผลิตเต็มที่ ณ สิ้นปี 2547 โดยบริษัทมีรายได้จากการขายปี 2547 เท่ากับ 3,272 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ประมาณ 1,972 ล้านบาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 152 โดยรายได้ส่วนที่เพิ่มเกิดจากธุรกิจชาเขียว อัตราร้อยละ 1,106 และจากธุรกิจอาหาร อัตราร้อยละ 15 ตามลำดับ
ในส่วนกำไรสุทธิปี 2547 กลุ่มบริษัทมีกำไรสุทธิ 487 ล้านบาท โดยปรับเพิ่มขึ้น 467 ล้านบาท หรือร้อยละ 2,371 เมื่อเทียบกับปี 2546 ที่มีกำไรสุทธิเท่ากับ 20 ล้านบาท 

ปัจจุบัน บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 375 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 187.5 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ บาท เป็นทุนชำระแล้วจำนวน 375 ล้านบาท 
บริษัท Oishi Small Group จำกัด เป็นธุรกิจแฟรนไชส์  (Franchise) Oishi Group จำกัด (มหาชน) ได้ทำการเปิดบริษัทมาเพื่อขยายสาขาที่อำเภอหัวหินในปี พ.ศ. 2554 โดยมีจำนวนแผนกรวม แผนก มีพนักงานทั้งหมด 192 คน คือ แผนกฝ่ายบุคคล คน , ฝ่ายบริหาร 10คน,ฝ่ายการตลาด 10 คน, ฝ่ายการผลิต 50 คน , ฝ่ายบัญชี 12 คน, ฝ่ายจัดเก็บ 50 คน, ฝ่ายประชาสัมพันธ์ 20 คน, ฝ่ายการส่งออกสินค้า 15คน และฝ่ายจัดซื้อ 20 คน 

นโยบาย
                คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายให้มีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม โดยคำนึงถึงสิทธิของ ผู้มีส่วนได้เสียดังกล่าวตามกฎหมาย หรือตามข้อตกลงที่มีกับบริษัท และไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียเหล่านั้น
คณะกรรมการบริษัทมีความตั้งใจในการที่จะพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในการสร้างเสริม ผลการดำเนินงานของบริษัท เพื่อสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้กับกิจการ และควรเปิดเผยข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้อง ให้ผู้มีส่วนได้เสียเหล่านั้นได้รับทราบอย่างเพียงพอ เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ในการมีส่วนร่วมดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัทตระหนักดีว่า ผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของบริษัทเกิดขึ้นจากการได้รับความสนับสนุนที่ดีจากผู้มีส่วนได้เสีย ( Stackholders ) กลุ่มต่างๆ จึงได้กำหนดนโยบายที่จะสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทกับผู้ที่มีส่วนได้เสียในการสร้างสรรค์ประโยชน์ร่วมกัน และดูแลให้ความมั่นใจว่าผู้มีส่วนได้เสียทุกรายจะได้รับการคุ้มครอง และปฏิบัติด้วยดี


ภารกิจหลักของบริษัท
            1. นำเสนอสิ่งดีที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพให้กับผู้บริโภค
            2. ทำให้มีความพึงพอใจในสินค้า
วัตถุประสงค์ของบริษัท
            1.  เพื่อความมั่งคงของกิจการ และความเจริญเติบโตของธุรกิจ
2. เพื่อความตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีที่สิ้นสุด
3. เพื่อแสวงหาผลตอบแทนสูงสุด นั้นคือ “กำไร”
4. ต้องการให้ลูกค้ามีความพึงพอใจ
เป้าหมายของบริษัท
                คือ สร้างกำไรให้ได้สูงสุด
ความหมายแต่ละแผนก
                “กรรมการผู้จัดการ” เป็นคนที่มีความรับผิดชอบในการดำเนินชีวิตประจำวันของบริษัท หรือองค์กรในบางพื้นที่ของโลกคำว่า “กรรมการผู้จัดการ” เทียบเท่ากับ “หัวหน้า” ข้อมูลที่หัวหน้าผู้บริหารของบริษัทไม่ว่าจะเป็นผู้จัดการบริษัททั้งหมดหรือเพียงส่วนหนึ่งในกรรมการบริหารมีจำนวนของความรับผิดชอบ
                “รองกรรมการผู้จัดการ” มีอำนาจรองลงมาจากกรรมการผู้จัดการ มีหน้าที่กำหนกนโยบาย กำหนดแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับทิศทางของนโยบายองค์กร ช่วยการวางแผน จัดโครงสร้างหน่วยงาน ตัดสินใจ แก้ไขปัญหา ฯลฯ
                “ผู้ช่วยรองกรรมการผู้จัดการ” ทำหน้าที่ในการสนับสนุน หรือเห็นชอบแต่นโยบายของแต่ละหน่วยงานในองค์กร และ คอยช่วยวางแผน หรือ แนะนำ รองกรรมการผู้จัดการ

“ฝ่ายจัดซื้อ”  หมายถึงธุรกิจหรือองค์กรที่พยายามสำหรับการซื้อสินค้าหรือบริการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร มีหน้าที่ จัดการหาซื้ออุปกรณ์ในการผลิต, วัตถุดิบในการผลิต , บรรจุภัณฑ์

                “ฝ่ายจัดเก็บ” ทำหน้าที่รับสินค้าจากทางบริษัทที่ส่งสินค้ามาให้แล้วทำการจัดเก็บไว้เพื่อส่งต่อให้ยังฝ่ายขายทางตลาดต่อไป

                “ฝ่ายบัญชี” ทำหน้าที่ทางด้านการเงินซึ่งเป็นฝ่ายมี่สำคัญมากที่สุดอีกฝ่ายหนึ่งก็ว่าได้เพราะงานในทุกด้านต้องมีการใช้เงิน รายรับ-รายจ่ายก็จะต้องผ่านทางฝ่ายบัญชี

                “ฝ่ายบริหาร” ทำหน้าที่จัดการต่อข้อเสนอแนะต่างๆ ที่ทางแต่ละฝ่ายเสนอขึ้นมาหรือให้คำแนะนำต่างๆ

                “ฝ่ายประชาสัมพันธ์” ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก้ผู้บริโภค รวมทั้ง นำเสนอสินค้าใหม่ๆ ในทุกด้าน

                “ฝ่ายการตลาด” ทำหน้าที่ในการศึกษาหรือวิเคราะห์ตลาดดูหุ้นส่วน ตรวจสอบคู่แข่งให้การแข่งขันทางการตลาด จัดการโปรโมชั่นต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภค

                “ฝ่ายบุคคล” มีหน้าที่ จัดทำประวัติพนักงาน, ประวัติการทำงานของพนักงาน, จัดหาตำแหน่ง หน้าที่ที่เหมาะสมให้กัลป์พนักงาน รวมทั้ง การรับพนักงานเพิ่ม

                “ฝ่ายการผลิต” มีหน้าที่ผลิตสินค้าให้ตรงตามแนวนโยบายที่กำหนด, ผลิตสินค้าให้ครบตรงสูตรสินค้า, สะอาด และรวดเร็วตามวันกำหนด

“ฝ่ายการส่งออกสินค้า” มีหน้าที่ จัดสินค้าส่งออกตามร้านค้า, ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ


ปัญหาภายในแต่ละแผนก
1.  ฝ่ายบัญชี  มีปัญหาคือ
                การได้รับข้อมูลและเอกสารประกอบการลงทะเบียนล่าช้า
                - ระบบคอมพิวเตอร์ล้าสมัย หน่วยความจำน้อย ซึ่งทำให้การประมวลผลข้อมูลล่าช้า
                -เอกสารมีจำนวนมากเกิน ทำให้การทำงานล่าช้า เนื่องจากเสียเวลาในการค้นหาเอกสาร
                -การค้นหาเอกสารยากเนื่องจากเอกสารมีจำนวนมาก และเสี่ยงต่อการสูญหาย
2.  ฝ่ายจัดซื้อ มีปัญหา คือ
                ปัญหาจากระบบคอมพิวเตอร์ล้าสมัย หน่วยความจำน้อย ทำให้การประมวลผลข้อมูลช้า
                -มีการสั่งซื้อโดยไม่ได้ทำเอกสารทันที หรือ เอกสารไม่ครบถ้วน ส่วนมากเกิดขึ้นในกรณีสั่งซื้อเร่งด่วน
                -ในการจัดซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ บางครั้ง อาจได้ไม่ตรงตามความต้องการ
                -วัตถุดิบ/อุปกรณ์ ขาดตลาด
3. ฝ่ายจัดเก็บ มีปัญหา คือ
                -จำนวนสินค้าที่ตรวจรับไม่ตรงกับใบที่สั่งซื้อ
                -การหาเอกสารใบสั่งซื้อเป็นการยาก เนื่องจาก เอกสารมีจำนวนมาก เสี่ยงต่อการสูญหาย และ การตกหล่นของสินค้า
                -พื้นที่จัดเก็บสินค้าไม่เพียงพอต่อความต้องการ
4. ฝ่ายบุคคล มีปัญหา คือ
                -ไม่อาจทราบได้แน่นอนว่า พนักงานทำงานจริงหรือไม่
                -คอมพิวเตอร์ล้าสมัยทำให้การกรอง/แก้ไขประวัติพนักงานเป็นไปอย่างยากและล่าช้า
                -มีข้อมูลบางคนไม่ครบ
                -ไม่อาจทราบได้แน่นอนว่า เวลาเข้า-ออกงานจากพนักงานของแต่ละคนจริงหรือไม่
5. ฝ่ายการผลิต มีปัญหา คือ
                เครื่องจักรมีความเก่าทำให้ผลิตสินค้าได้ช้า
                - ผลิตสินค้าได้ไม่ครบตามต้องการเนื่องจากขาดวัตถุดิบในการผลิต
                ไม่อาจทราบได้แน่นอนว่าที่ผลิตสินค้าได้ไม่ทันตามเวลา เกิดจาการอู้งานของพนักงาน
                พนักงานผลิต ต้องสะอาดแต่งกายรัดกุมมิดชิด และมีความระมัดระวังให้มาก
6. ฝ่ายการตลาด มีปัญหา คือ
                -อัพเดทข้อมูลการตลาดไม่ทัน ตลาดคู้แข่ง เนื่องจากคอมพิวเตอร์ล้าช้า
                จัดการโปรโมชั่นให้กับผู้บริโภคได้ยาก เพราะขาดข้อมูล
7. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ มีปัญหา คือ
                 ได้พนักงานประชาสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยรู้เรื่อง / ไม่ใส่ใจในสินค้า
                มักจะเกิดการงานระหว่างพนักงานในฝ่ายประชาสัมพันธ์
                - บางครั้งการประชาสัมพันธ์อาจทำได้ไม่ทั่วถึง
                การประชาสัมพันธ์สินค้าตามสถานที่ต่างๆเป็นไปอย่างลำบาก เพราะจารจรติดขัด
8. ฝ่ายการส่งออกสินค้า มีปัญหา คือ
                จำนวนสินค้าไม่ตรงตามใบเอกสารที่ได้รับ
                ส่งสินค้าตกหล่น หรือ ไม่ครบเนืองจากสินค้าไม่ครบตามที่กล่าวมา
                ส่งสินค้าไม่ทันหรือไม่ตรงตามวันเนื่องจากการจราจรติดขัด
                หากบิลสินค้าไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดความเสียหายได้

ปัญหาระหว่างแต่ละแผนก
1 ฝ่ายบัญชีกับฝ่ายจัดซื้อ
-เวลาจัดการซื้อของที่บริษัทต้องการไม่ตรงกับบัญชีที่ได้
-พนักงานบัญชีทำทำบัญชีที่ต้องจัดซื้อสินค้าไม่ชัดเจน
-ค่าอุปกรณ์ที่จัดซื้อจำนวนเงินไม่ตรงกัน
-เงินไม่พอที่จะทำการสั่งมัดจำสินค้า
2 ฝ่ายบุคคลกับฝ่ายบัญชี
-จ่ายเงินเดือนไม่ตรงกับการทำงานของพนักงาน
-พนักงานไม่ได้เงินเดือนตรงที่พนักงานทำงาน
-เงินเดือนที่ได้ไม่ตรงกับพนักงานของบริษัท
-ฝ่ายบุคคลไม่รู้จำนวนพนักงานที่แน่นอน
3 ฝ่ายบัญชีกับฝ่ายจัดเก็บ
-จัดเก็บสินค้าที่มีไม่ตรงกับบัญชีที่ส่งให้กับฝ่ายบัญชี
-บัญชีเกี่ยวกับการจัดเก็บสินค้าเสียหาย
-สินค้าที่จัดเก็บไม่มีการบันทึกให้กับฝ่ายบัญชี
-ฝ่ายบัญชีมีรายชื่อสินค้าที่จัดเก็บไม่ครบ
4 ฝ่ายคลังสินค้ากับฝ่ายจัดซื้อ
-ฝ่ายจัดซื้อไม่รู้อุปกรณ์ที่จะนำมาผลิตสินค้า
-วัสดุดิบบางตัวไม่มีคุณภาพ
-สินค้าบางตัวขาดตลาด

ระบบที่จะนำมาแก้ปัญหา
1. ระบบบัญชีแยกประเภท
2. ระบบคำนวณเงินเดือน
3. ระบบตรวจสอบวัตถุสินค้า
4. ระบบงานบุคคล
5. ระบบจัดเก็บสินค้า
6. ระบบการส่งสินค้า
7. ระบบการขายสินค้า
8. ระบบประชาสัมพันธ์สินค้า